top of page

กสทช.เปิดประมูลคลื่นวิทยุครั้งแรกในรอบ 92 ปี อสมท.สูญ 6 คลื่นวิทยุดังภาคอีสาน!

Writer's picture: Triphop PhonkaTriphop Phonka

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการวิทยุกระจายเสียงเมืองไทยเพราะเป็นการประมูลคลื่นวิทยุครั้งแรกในรอบ 92 ปี นับจากกิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2473 ที่มีสถานีวิทยุกรุงเทพฯ เกิดขึ้นแห่งแรกในไทย ที่พระราชวังพญาไท ถนนราชวิถี กระทั่งสมัย จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ที่ผ่านมา การบริหารงานวิทยุเป็นไปในลักษณะที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานด้านความมั่นคง เช่น เหล่าทัพต่างๆ จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นมาแล้วผลิตรายการเอง หรือให้เอกชนมารับช่วงผลิตรายการ เช่น รายการเพลง รายการคุยข่าว รายการตอบปัญหา ฯลฯ ทั้งรูปแบบให้สัมปทานวิทยุ ร่วมผลิตรายการ หรือแบ่งเวลาให้เช่า ผลจากการปฏิรูปสื่อ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแล ทำให้เริ่มเรียกคืนคลื่นวิทยุมาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ โดยให้ทดลองออกอากาศไปถึงปี 2560 แต่คำสั่ง คสช.ยืดเวลาออกอากาศได้ถึงปี 2565 หน่วยงานราชการที่ต้องการออกอากาศต่อ ต้องขอใบอนุญาตประเภท “กิจการบริการสาธารณะ” มีอายุ 5 ปี ที่ผ่านมา กสทช. ออกใบอนุญาตให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐไปแล้ว 28 หน่วยงาน รวม 389 คลื่นความถี่

บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่มีสถานีวิทยุมาตั้งแต่สมัยเป็น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) รวม 62 สถานีทั่วประเทศ แต่หลังแปรรูปรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัทมหาชน ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ ก็ถูกจัดอยู่ในประเภทกิจการธุรกิจที่ต้องขออนุญาตใช้คลื่นด้วยวิธีการประมูล จึงต้องคืนคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในมือทั้งหมด


การประมูลคลื่นความถี่ในระบบเอฟเอ็ม สำหรับการให้บริการวิทยุกระจายเสียง ประเภทกิจการทางธุรกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านระบบการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงไปสู่ระบบการอนุญาต ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย จะนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) และนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

โดย กสทช. นำคลื่นความถี่ที่เจ้าของเดิมส่งคืนมาจัดการประมูลใหม่ รวม 74 คลื่น ได้แก่ คลื่นของ อสมท เดิม 62 คลื่น กรมประชาสัมพันธ์ เดิม 10 คลื่น และที่สำนักงาน กสทช. รับโอนมาจาก กรมไปรษณีย์โทรเลขเดิมอีก 5 คลื่น แต่พบว่ามีผู้สนใจประมูลเพียง 71 คลื่น ส่วนอีก 2 คลื่นมีคนสนใจแต่ไม่มีผู้วางเงิน หลักประกัน และ 1 คลื่นไม่มีผู้สนใจประมูล


ผู้ชนะการประมูลที่ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะได้รับใบอนุญาตฯ ประเภทธุรกิจ มีอายุ 7 ปี เริ่มตั้งแต่ 4 เมษายน 2565 ถึง 4 เมษายน 2572 มีโฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที 30 วินาที รวมเวลาโฆษณาเฉลี่ยไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาทีต่อวัน และจะต้องมีรายการที่เป็นข่าวสาร หรือสาระต่อสาธารณะในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 25%

การประมูลคลื่นวิทยุครั้งนี้ จับตามองไปที่คลื่นต่างจังหวัด พบว่าหัวเมืองหลัก หรือจังหวัดใหญ่ๆ ขับเคี่ยวกันแบบสูสี อสมท พยายามใส่เม็ดเงินรักษาคลื่นเดิมเอาไว้ ท่ามกลางอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะระบบการประมูลที่เป็นระบบอินทราเน็ต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า กสทช. นำคลื่นวิทยุเข้าประมูล 21 คลื่นความถี่ ประกอบด้วย อสมท เดิม 16 คลื่น กรมประชาสัมพันธ์ 2 คลื่น (ขอนแก่น 2 คลื่น นครราชสีมา 1 คลื่น) และสำนักงาน กสทช. 2 คลื่น อุดรธานี และอุบลราชธานี คราวนี้ อสมท สนใจประมูล 15 คลื่น ยอมตัดทิ้งไป 1 คลื่น คือ อสมท.มหาสารคาม แต่ก็พบว่ามีบางคลื่นชนะแบบไม่มีคู่แข่ง เช่น FM 92.00 กาฬสินธุ์ และ FM 91.50 อุดรธานี


สรุปสุดท้าย อสมท ต้องสูญเสียคลื่นความถี่วิทยุในภาคอีสานไปถึง คลื่น โดยเฉพาะจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ ) FM 99.75 อสมท.สุรินทร์ แพ้ให้กับลูกทุ่งเน็ตเวิร์ค ) FM 102.00 อสมท.ชัยภูมิ แพ้ให้กับ บริษัท เจ.เอส.ไนน์ตี้วัน จำกัด ) FM 90.75 อสมท.ขอนแก่น และ ) FM 101.00 อสมท. ร้อยเอ็ด แพ้ให้กับ บริษัท ดินดิน จำกัด ของ “มะลิดา ปทุมธนทรัพย์” ผู้อำนวยการสำนักวาทศิลป์ ผู้ผลิตรายการ วิทยุชุมชน เอฟ.เอ็ม.106 ที-สไมล์เรดิโอ ขอนแก่น ) FM 100.5 อสมท.มหาสารคาม ยอมตัดทิ้ง ผู้ชนะประมูล คือ หจก.พีระยา มีเดียกรุ๊ป ชนะด้วยราคากว่า 2.99 ล้านบาท สูงกว่าคู่แข่ง )FM 95.25 อสมท.ยโสธร หจก.สุภคพร กรุ๊ป ด้วยราคากว่า 4.21 ล้านบาท สูงกว่าคู่แข่ง

ทำให้ อสมท มีคลื่นความถี่ในภาคอีสานเหลือเพียงแค่ 10 คลื่น ได้แก่ 1) FM 91.50 อุดรธานี 2) FM 92.00 กาฬสินธุ์ 3) FM 100.00 เลย 4) FM 93.50 นครพนม 5) FM 92.00 บุรีรัมย์ 6) FM 107.00 สกลนคร 7) FM 102.50 หนองคาย 8) FM 95.75 นครราชสีมา 9) FM 107.00 อุบลราชธานี 10) FM 95.00 ศรีสะเกษ

การประมูลคลื่นวิทยุครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้พฤติกรรมของผู้ฟังในกรุงเทพฯ จะเปลี่ยนแปลงไป แต่สำหรับต่างจังหวัด วิทยุยังเป็นสื่อหลักที่ยังทรงอิทธิพล ทั้งการเข้าถึงผู้ฟัง ความน่าเชื่อถือในฐานะสื่อแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังเป็นช่องทางโฆษณาที่เข้าถึงคนทุกกลุ่ม ด้วยมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในปัจจุบันกว่า 5,000 ล้านบาท งไม่น่าแปลกใจที่บางจังหวัดต่อสู้กันด้วยราคาประมูลมหาศาล ตั้งแต่หลักล้านถึงหลักสิบล้านบาท

6 views0 comments

Comments


bottom of page